ไฮไลท์บ้านบึง

“หลวงพ่อใยคู่เมือง เลื่องชื่ออาหารอร่อย ร้อยเรียงบุญบ้านบึงสืบสาน ตำนานแห่งขุนเขา ประตูทางเข้าสู่ภาคตะวันออก”

1.ก๋วยเตี๋ยวหมูบ้านบึง
2.ขนมจีนน้ำยาปู
3.ฮ่อยจ๊อ
4.ขนมกุยช่าย
5.ข้าวแห้งบ้านบึง
6.เมี่ยงคำก๋วยเตี๋ยว

ก๋วยเตี๋ยวหมูบ้านบึง
ขนมจีนน้ำยาปู
ฮอยจ๊อ
ขนมกุยช่าย
ข้าวแห้งบ้านบึง
เมี่ยงก๋วยเตี๋ยว

เทวรูปเจ้าแม่กวนอิม สร้างขึ้นด้วยหยกขาว เกิดขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวบ้านบึง เมื่อครั้งจะก่อสร้างสะพานข้ามสระน้ำที่ประดิษฐานเทวรูปเจ้าแม่กวนอิมในปัจจุบัน ชาวบ้านบึงจึงมีความคิดเห็นว่า ควรสร้างเทวรูปเจ้าแม่กวนอิม ไว้ให้ผู้คนได้เคารพสักการบูชาด้วย โดยรวบรวบเงินบริจาคจากประชาชนชาวบ้านบึง เพื่อดำเนินการแกะสลัก ซึ่งใช้หยกขาวจากประเทศพม่า นำเข้ามาให้ช่างฝีมือดี ลงมือแกะสลักที่จังหวัดเชียงใหม่ ทราบชื่อช่างแกะสลักว่าชื่อ นายหยก

เริ่มดำเนินการสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2547 สร้างเสร็จและนำมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2549 ตรงกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เทวรูปเจ้าแม่กวนอิม มีขนาดความสูงใกล้เคียงกับความสูงของบุคคลทั่วไป ประมาณ 170 ซม. ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนสะพานกลางสระน้ำ ซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในย่านชุมชนเมืองเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง และเป็นหนึ่งในเทวรูปที่ชาวบ้านบึงให้ความเคารพบูชา โดยเฉพาะเมื่อถึงคราวจัดงานเทศกาล หรือประเพณีด้วย เช่น วันไหว้พระจันทร์ และงานบุญบ้านบึง

พสกนิการทุกหมู่เหล่าในอำเภอบ้านบึง ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระบรมรูปของพระองค์ท่านมาทรงประทับอยู่ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอบ้านบึง โดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2558 พิธีหล่อพระบรมรูปเมื่อวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2558 โดยนายสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน พิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2559 โดยนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู จ.ศ.1215 (20 กันยายน พ.ศ.2396) ทรงครองราชย์เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จ.ศ.1230 (1 ตุลาคม พ.ศ.2411) ทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 5 ค่ำ ปีจอ จ.ศ.1272 (23 ตุลาคม พ.ศ.2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา รวมสิริครองราชย์ 42 ปี

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการเลิกทาส การปฏิรูประบบราชการ เพิ่มกระทรวง มณฑล ก่อตั้งสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การสุขาภิบาล การสาธารณูปโภค การประปา การคมนาคม การสาธารณสุข การไฟฟ้า การไปรษณีย์-โทรเลข การศึกษา การปกป้องประเทศจากสงครามและลัทธิล่าอาณานิคม การเสด็จประพาสตามหัวเมือง พระองค์ได้รับสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก

ประวัติพระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มตั้งแต่การสร้างและประดิษฐานในลังกา 1,150 ปี และได้ไปประดิษฐานยังจังหวัดต่างๆของประเทศไทย พระสรีระได้สัดส่วนและงดงามที่สุด เป็นพระพุทธรูปสวยงามศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาติไทย เป็นศิริมงคลและหลักใจของพุทธศาสนิกชน

ส่วนพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดชลบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดหอพระพุทธสิหิงค์ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2509

ประวัติพระพุทธสิหิงค์ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

พระพุทธสิหิงค์อำเภอบ้านบึง สร้างในปีมหามงคล พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา โดยวางศิลาฤกษ์หอพระ วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 เททองหล่อพระ วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 และสมโภชน์หอพระ วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 องค์พระพุทธสิหิงค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 25 นิ้ว สูง 54.5 นิ้ว ฐานองค์พระ มีขนาดกว้าง 54.5 นิ้ว

การสร้างหอพระ เป็นความริเริ่มของนายสุรินทร์ สรงสระแก้ว นายอำเภอบ้านบึง คนที่ 31 โดยงบประมาณจากกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าอมตะเพาว์เวอร์ สำหรับการหล่อองค์พระพุทธสิหิงค์เป็นการกุศลสามัคคีร่วมกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน คหบดี ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพัฒนาสตรี กลุ่มโอทอป สมาชิกเหล่ากาชาด ลูกเสือชาวบ้าน เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 117,000 บาท และได้เปิดบัญชีเงินฝากชื่อ หอพระพุทธสิหิงค์ เลขที่บัญชี 210-0-27044-3 เพื่อเป็นกองทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์หอพระพุทธสิหิงค์ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สืบไป

วัดบึงบวรสถิตย์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนเทศประสาท อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี แต่เดิมเรียกวัดไร่บ้านบึง โดยเมื่อ พ.ศ.2434 มีพระภิกษุ ชื่อ พระอาจารย์เขียว จากวัดคงคาลัย ปัจจุบันคือวัดบุญญฤทธยาราม ได้มาเผ้าถางพื้นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นป่าไม้ไร่(ไผ่ไร่) ต่อมานายอำนาจ เนื่องจำนง ได้บริจาคที่ดินให้อีก 9 ไร่ และนายเชวง เฮงตระกูล บริจาคที่ดินอีก 4 ไร่ ส่วนการเปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดบึงบวรสถิต” เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 ในสมัยพระครูจำรัส ภทโท เป็นเจ้าอาวาส

ปูชนียวัตถุภายในวัด

1.อุโบสถทรงไทยจัตุรมุข ก่อสร้างโดยความดำริของท่านพระครูปรีชานุศาสก์ เป็นเจ้าอาวาสวัดบึง สมัย พ.ศ.2492 – 2501 เนื่องจากอุโบสถหลังเดิมที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ติดกับลำห้วยนั้นคับแคบ โดยอุโบสถหลังใหม่สร้างเป็นอุโบสถจัตุรมุขแบบวัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม ได้วางศิลาฤกษ์อุโบสถหลังใหม่เมื่อ พ.ศ.2492 ก่อสร้างเรื่อยมา กระทั่งพระครูปรีชานุศาสก์ มรณภาพ พระครูประภัศร์พุทธิคุณ จึงเข้ามาดูแลต่อจนสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2528 ถือเป็นอุโบสถที่มีความสวยงามหลังหนึ่งของภาคตะวันออก ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธโลหะปิดทอง มีพุทธลักษณะสวยงาม ขนาดหน้าพระเพลา 3 ศอกเศษ สูงจรดพระรัศมีแต่ฐานทับเกษตร 4 ศอกเศษ มีพระพุทธรูปในซุ้มคูหาพระประธานอีก 4 องค์ เป็นพระพุทธรูปปางลีลาเลียนศิลปะสุโขทัย จำนวน 2 องค์ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร รวม 2 องค์

นอกจากนี้ในอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเหลือ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวอำเภอบ้านบึงโดยทั่วไป

2.วิหารหลวงพ่อรุ่งเรือง เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนพระครูปรีชานุศาสก์ และพระครูประภัศร์พุทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดบึงบวรสถิต ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวอำเภอบ้านบึงโดยทั่วไป

3.พระไตรโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานอยู่บนแท่นหินอ่อน หล่อด้วยโลหะรมดำ ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าวัดด้านทิศเหนือ สร้างโดยพระครูพิศาลพรหมจรรย์ เจ้าอาวาสและทายกทายิกา โดยพระนาม “พระไตรโลกนาถ ลิลาศวิกรม บรมศาสดา อนาวรญาณ” เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เป็นองค์ถวายพระนาม

งานประเพณีและงานประจำปี

นอกจากจะมีประเพณีเวียนวันสำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีงานประจำปี ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน จัดมาตั้งแต่ พ.ศ.2484 ระยะเวลา 5 วัน ภายในงานมีการปิดทองหลวงพ่อเหลือ และรูปเหมือนพระครูปรีชานุศาสก์ ประเพณีแห่เกวียนกัณฑ์เทศน์ ในวันออกพรรษา เนื่องด้วยบุญเทศน์มหาชาติและงานประเพณีวิ่งควายของอำเภอบ้านบึง งานบุญกองข้าว ในเดือนห้าของทุกปี ปัจจุบันเรียก “งานบุญบ้านบึง” จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางรวมประชาชนในชุมชนต่างๆ

วัดบุญญฤทธยาราม(บึงบน) หรือชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบึงคงคาลัย เพราะวัดตั้งอยู่ริมคลองริมห้วย แต่หลักฐานตามที่กรมศาสนาบันทึกไว้มีชื่อว่า วัดบึงใน

วัดบุญญฤทธยาราม สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 866 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ติดทางหลวงแผ่นดิน บ้านบึง – แกลง การสร้างและการก่อตั้งวัดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่จากการพิจารณาข้อมูลด้วยการสอบถามผู้สูงอายุที่เกิดและอยู่อาศัยในพื้นที่ คาดว่าวัดนี้มีมานานไม่ต่ำกว่า 120 ปี ได้รับพระราชวิสุงคามสีมา ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2484 ขนาดกว้าง 60×80 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่21 มีนาคม 2520 ขนาดกว้าง 40×60 นับตั้งแต่เป็นวัดถึงปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสรวม 9 รูป

หลวงพ่อใย เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ 4 ในบรรดาเจ้าอาวาสทั้งหมด ถือว่ามีประชาชนเคารพนับถือจำนวนมาก เนื่องจากมีความรู้ความสามารถในทางยา การรักษาพยาบาล โดยมรณภาพเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2482 ต่อมาได้สร้างวิหารและหล่อรูปเหมือนองค์ท่านเมื่อ พ.ศ.2521 ประชาชนที่เคารพนับถือมักจะเดินทางแวะเวียนมากราบไหว้และขอพรทั้งเรื่องชีวิตครอบครัวและหน้าที่การงาน ส่วนสิ่งปลูกสร้างในสมัยหลวงพ่อใย มีเพียงโบสถ์ไม้เก่าๆ 1 หลัง กุฏิ 3 หลัง ห้องสุขา บ่อน้ำ และวัดก็หนาแน่นไปด้วยต้นไม้ ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ

ปัจจุบันมีพระครูสังฆรักษ์เสงี่ยม หรือ พระครูโสรัจธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งได้ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธา พัฒนาและก่อสร้างศาสนสถานรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในวัดเรื่อยมา โดยใน พ.ศ.2537 ก่อสร้างศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ และเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2542 เปิดเรียนนักธรรมแผนกบาลี รุ่นแรก

1. รสฤดีอพาร์ทเม้นท์

เลขที่ 5 ถนนบ้านบึง-บ้านค่าย ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 089-4022885

2. ต่อตะวันรีสอร์ท

เลขที่ 449 ถนนวิฑูรย์ดำริ ซอย 10 ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 061-3289655

3. คีรีมายารีสอร์ท

เลขที่ 37 ถนนธารนที ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 038-446092

4. โรงแรมชัยเจริญ

เลขที่ 22 ถนนบวรสถิตย์ ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 038-443036

5. ฆฤณนาตราวิลล่า

เลขที่ 222/2 ถนนชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 033-116010

6. พรีมีโอเซอร์เคิล 1

เลขที่ 111 ถนนชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 038-443444

7. พรีมีโอเซอร์เคิล 2

เลขที่ 222 ถนนชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โทร. 038-443444

close(x)